วันเสาร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ทิศทางการสื่อสารข้อมูล

ทิศทางการสื่อสารข้อมูล
การติดต่อแบบอนุกรมอาจจะแบ่งตามรูปแบบการรับ-ส่ง ได้ 3 แบบ คือ

1. สื่อสารทางเดียว (simplex) ข้อมูลส่งได้ทางเดียวเท่านั้น บางครั้งก็เรียกว่าการส่งทิศทางเดียว ตัวอย่างเช่น การส่งสัญญาณโทรทัศน์ สัญญาณจะถูกส่งมาจากสถานีส่งไปยังเครื่องรับโทรทัศน์ ได้เพียงทิศทางเดียวโดยไม่มีสัญญาณตอบกลับ อุปกรณ์ส่งข้อมูลในทางคอมพิวเตอร์บางชนิดก็ส่งในลักษณะนี้ เช่น เครื่องมือตรวจวัดแรงสั่นสะเทือนของโลกจากแผ่นดินไหว



2. สื่อสารสองทางครึ่งอัตรา (half duplex) ข้อมูลสามารถส่งได้ทั้งสองสถานี แต่จะต้องผลัดกันส่งและผลัดกันรับ จะส่งและรับพร้อมกันไม่ได้ ข้อมูลสามารถเดินทางไปได้ทั้งสองทิศทาง แต่ต้องไม่ใช่ในเวลาเดียวกัน เหมือนกับการเดินรถตรงช่วงข้ามสะพานแคบๆ ไม่สามารถสวนทางกันได้ต้องสลับกัน ตัวอย่างเช่น การสื่อสารด้วยวิทยุที่ใช้ในหน่วยทหาร, ดับเพลิง หรือตำรวจ เป็นต้น คู่สนทนาจะต้องสลับกันพูด การสื่อสารข้อมูลในปัจจุบันส่วนใหญ่นิยมใช้แบบฮาฟ-ดูเพล็ก




3. สื่อสารสองทางเต็มอัตรา (full duplex) ทั้งสองสถานีสามารถรับและส่งได้ในเวลาเดียวกัน ข้อมูลสามารถถูกส่งไปและกลับได้ในเวลาเดียวกัน เหมือนการเดินรถบนถนนที่มีช่องทางเดินรถแบบสองทาง รถยนต์สามารถวิ่งสวนทางกันได้ในเวลาเดียวกัน
ตัวอย่างเช่น การสนทนาโดยโทรศัพท์ คู่สนทนาสามารถพูดและฟังในเวลาเดียวกันได้ นิยมใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่






รวบรวมจาก หนังสือเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ ช 0249 เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์
สถาบันส่งเสริมารสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น