วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

สายหัวเทียนรั่วสาเหตุของไฟไหม้รถติดแก๊ส LPG

    ...ปัญหาสำคัญปัญหาหนึ่งของรถยนต์ที่ติดตั้งแก๊ส LPG ระบบดูดคือ ปัญหา Back Fire ซึ่ง
ปัญหาดังกล่าวมาจากสาเหตุต่างๆพอสรุปได้ดังนี้
1 แก๊สบางมากเกินไป
2 หัวเทียนเสื่อมสภาพ (บอด)
3 สายไฟแรงสูงจากคอล์ยจุดระเบิดไปจานจ่าย จากจานจ่ายไปหัวเทียน(สายหัวเทียน)รั่ว
4 ไฟ 12V ที่จ่ายให้คอล์ยจุดระเบิดไม่เต็ม 12V
จากสาเหตุทั้งหมดที่กล่าวมาข้อที่ 3 มีโอกาสทำให้เกิดไฟไหม้มากที่สุด เพราะเมื่อเกิด Back Fire
แก๊ส LPG ผสมกับอากาศจะฟุ้งกระจายอยู่ในห้องเครื่องยนต์ จะมาเจอกับประกายไฟที่สปาร์คระ
หว่างสายหัวเทียนกับตัวเครื่องยนต์ก็จะให้เกิดการระบิดและลุกไหม้ขึ้นจากนั้นก็จะลุกลามขยาย
วงกว้างออกไป ซึ่งแนวทางในการแก้ไขป้องกันสามารถทำได้โดยตรวจเช็คหรือทำการเปลี่ยนสาย
หัวเทียนทุกระยะทางที่เหมาะสม ( 50,000 กม., 100,000 กม.) หรือเมื่อพบว่าสายหัวเทียนเริ่มเสื่อม
สภาพ


ที่มา http://www.gasthai.com/boardgas/question.asp?id=43802




แบคไฟร์ มันคืออะไร

แบคไฟร์ (Back Fire) เป็นอาการที่เกิดจากการสันดาปของเชื้อเพลิงภายนอกกระบอกสูบ เป็นเรื่องที่พบได้ทั้งเครื่องยนต์ที่ใช้แก๊สเป็นเชื้อเพลิง หรือแม้นกระทั่งเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันเอง ก็มีบางครั้งที่จะพบเจอะอาการนี้ อาการเบื้องต้นที่เจอะจะมีการระเบิดย้อนภายในท่อร่วมไอดี อาจทำให้ระบบควบคุมประจุไอดีชำรุดได้ จำพวกมาตรวัดอากาศ (Air Flow) หรือลิ้นปีกผีเสื้อ

การเกิดแบคไฟร์ได้นั้นมีองค์ประกอบคือ เชื้อเพลิง และอ็อกซิเจนในอากาศ การเกิดแบคไฟร์ส่วนใหญ่จะเกิดในกรณีที่ส่วนผสมบางเกินไป จะเกิดในช่วงเวลาสั้นๆและจะเผาไหม้เชื้อเพลิงที่ตกค้างอยู่ภายในท่อร่วมไอดี ส่วนผสมของเชื้อเพลิงกับอากาศที่บางเกินไปจะมีค่าอ็อกซิเจนอยู่ในส่วนผสมมาก ส่วนผสมที่บางจะสันดาปตัวเองได้ง่ายเมื่อมีอุณหภูมิถึงจุดสันดาป โดยไม่ต้องพึ่งพาเปลวไฟจากเขี้ยวหัวเทียน การเกิดแบคไฟร์นั้นอาจเกิดได้ในเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง เกิดในกรณีเดียวกันแทบทุกอย่าง แต่การฉีดเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์เบ็นซินนั้นการฉีดจะบางได้มีอยู่ไม่กี่กรณี คือ ปั๊มเชื้อเพลิงแรงดันตก หัวฉีดเชื้อเพลิงทำงานผิดปกติ หรือ มาตรวัดอากาศประมวลผลผิด (เร่งเครื่องแต่จับสัญญาณการไหลของอากาศได้ต่ำกว่าความจริง) ถ้าในกรณีเครื่องยนต์ที่ใช้คาร์บูเรเตอร์จะเกิดจากการใช้ขนาดนมหนูน้ำมันที่ไม่เหมาะสม จากอาการข้างต้น การที่เราจะเอาระบบแก๊ส ไม่ว่าจะเป็น LPG หรือ NGV มาใช้ในรถยนต์นั้นองค์ประกอบที่เหมาะสมถึงจะแก้ไขปัญหาได้ ในระบบดูด ( Mixer ) ระบบพื้นฐานคล้ายคาร์บูเรเตอร์ ปากผสมจึงเป็นจุดหลักของอาการแบคไฟร์ และ มีหม้อต้ม เป็นตัวเสริมที่บ่งบอกว่าขนาดปากผสมนั้นเหมาะสมกันหรือไม่

ทำไมเครื่องยนต์สมัยใหม่เมื่อนำไปใส่ระบบดูดที่สามารถใช้กับเครื่องยนต์ที่มีความจุเท่ากัน แต่ยังเกิดอาการแบคไฟร์อยู่ การเกิดอาการแบคไฟร์ในระบบดูดที่ใช้กับเครื่องยนต์สมัยใหม่นั้น ส่วนใหญ่มักมีปัญหาจากระบบแปรผันวาวล์ไอดี ซึ่งเมื่อระบบนี้ทำงานจะทำให้ค่าการไหลของอากาศมากขึ้นโดยเฉียบพลัน ปกติการทำงานของระบบแปรผันวาวล์ถูกออกแบบมาให้เครื่องยนต์มีอัตราเร่งที่ดี แต่การเกิดแบคไฟร์ในเครื่องยนต์ทั่วๆไปนั้นก็มีความเสี่ยงในขณะที่ส่งคันเร่งเร็วๆในกรณีเร่งแซง แต่เมื่อถูกผนวกไปกับการปรับค่าการเปิดวาวล์ที่นานขึ้นทำให้ปริมาณอากาศที่ไหลผ่านมากขึ้นตามไปด้วยโดยที่หม้อต้มไม่สามารถที่จะชดเชยได้ทันก็จะเกิดอาการแบคไฟร์ได้โดยง่าย เรียกได้ว่าถ้าระบบเครื่องยนต์ที่มีการประจุไอดีที่ซับซ้อน ระบบดูดจึงไม่ใช้ทางเลือกที่ดีนัก

แต่อย่างไรก็ตามการเกิดแบค์ไฟร์นั้นอาจมีข้อปลีกย่อยจากตัวเครื่องยนต์เองอีกส่วนนึง อาการจากสายหัวเทียนรั่ว หรือ คอย์จุดระเบิดรั่ว(ในรถที่ใช้คอย์แยก) หรือแม้นแต่กระทั่งเขี้ยวหัวเทียนที่ห่าง ก็สามารถที่จะทำให้เกิดอาการแบคไฟร์ได้

GasThai.com ขอขอบคุณบทความโดย คุณ Sor