วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

สรุป เรื่องซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์

ความจำเป็นของการใช้ซอฟต์แวร์
ซอฟต์แวร์ (software) หมายถึง ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงหมายถึงลำดับขั้นตอนการทำงานที่เขียนขึ้นด้วยคำสั่งของคอมพิวเตอร์ คำสั่งเหล่านี้เรียงกันเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จากที่ทราบมาแล้วว่าคอมพิวเตอร์ทำงานตามคำสั่ง การทำงานพื้นฐานเป็นเพียงการกระทำกับข้อมูลที่เป็นตัวเลขฐานสอง ซึ่งใช้แทนข้อมูลที่เป็นตัวเลข ตัวอักษร รูปภาพ หรือแม้แต่เป็นเสียงพูดก็ได้
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์จึงเป็นซอฟต์แวร์ เพราะเป็นลำดับขั้นตอนการทำงานของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งทำงานแตกต่างกันได้มากมายด้วยซอฟต์แวร์ที่แตกต่างกัน ซอฟต์แวร์จึงหมายรวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทุกประเภทที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้


ซอฟท์แวร์และภาษาคอมพิวเตอร์
เนื่องจากคอมพิวเตอร์ทำงานด้วยสัญญาณทางไฟฟ้า ใช้แทนด้วยตัวเลข 0 และ 1 ได้ ผู้ออกแบบคอมพิวเตอร์ใช้ตัวเลข 0 และ 1 นี้เป็นรหัสแทนคำสั่งในการสั่งงานคอมพิวเตอร์ รหัสแทนข้อมูลและคำสั่งโดยใช้ระบบเลขฐานสองนี้ คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ เราเรียกเลขฐานสองที่ประกอบกันเป็นชุดคำสั่งและใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์ว่า ภาษาเครื่อง  การใช้ภาษาเครื่องนี้ถึงแม้คอมพิวเตอร์จะเข้าใจได้ทันที แต่มนุษย์ผู้ใช้จะมีข้อยุ่งยากมาก เพราะเข้าใจและจดจำได้ยาก จึงมีผู้สร้างภาษาคอมพิวเตอร์ในรูปแบบที่เป็นตัวอักษร เป็นประโยคข้อความ ภาษาในลักษณะดังกล่าวนี้เรียกว่า ภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูง ภาษาระดับสูงมีอยู่มากมาย บางภาษามีความเหมาะสมกับการใช้สั่งงานการคำนวณทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ บางภาษามีความเหมาะสมไว้ใช้สั่งงานทางด้านการจัดการข้อมูล
ในการทำงานของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์จะแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง ดังนั้นจึงมีผู้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับแปลภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง โปรแกรมที่ใช้แปลภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องเรียกว่า คอมไพเลอร์ (compiler) หรืออินเทอร์พรีเตอร์ (interpreter) คอมไพเลอร์จะทำการแปลโปรแกรมที่เขียนเป็นภาษาระดับสูงทั้งโปรแกรมให้เป็นภาษาเครื่องก่อน แล้วจึงให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามภาษาเครื่องนั้น
ส่วนอินเทอร์พรีเตอร์จะทำการแปลทีละคำสั่ง แล้วให้คอมพิวเตอร์ทำตามคำสั่งนั้น เมื่อทำเสร็จแล้วจึงมาทำการแปลคำสั่งลำดับต่อไป   ข้อแตกต่างระหว่างคอมไพเลอร์กับอินเทอร์พรีเตอร์ จึงอยู่ที่การแปลทั้งโปรแกรมหรือแปลทีละคำสั่ง ตัวแปลภาษาที่รู้จักกันดี เช่น ตัวแปลภาษาเบสิก ตัวแปลภาษาโคบอล
ชนิดของซอฟต์แวร์
ซอฟต์แวร์ได้เป็น 2 ประเภท คือ ซอฟต์แวร์ระบบ (system software) และซอฟต์แวร์ประยุกต์ (application software)
  • ซอฟต์แวร์ระบบ คือซอฟต์แวร์ที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบ หน้าที่การทำงานของซอฟต์แวร์ระบบ คือดำเนินงานพื้นฐานต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น รับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระแล้วแปลความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ นำข้อมูลไปแสดงผลบนจอภาพหรือนำออกไปยังเครื่องพิมพ์ จัดการข้อมูลในระบบแฟ้มข้อมูลบนหน่วยความจำรอง
  • ซอฟต์แวร์ประยุกต์ เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้กับงานด้านต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง ปัจจุบันมีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานทางด้านต่าง ๆ ออกจำหน่ายมาก การประยุกต์งานคอมพิวเตอร์จึงกว้างขวางและแพร่หลาย เราอาจแบ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์ออกเป็นสองกลุ่มคือ ซอฟต์แวร์สำเร็จ และซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้งานเฉพาะ

               ซอฟต์แวร์ระบบ
คอมพิวเตอร์ประกอบด้วย หน่วยรับเข้า หน่วยส่งออก หน่วยความจำ และหน่วยประมวลผล ในการทำงานของคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีการดำเนินงานกับอุปกรณ์พื้นฐานที่จำเป็น ดังนั้นจึงต้องมีซอฟต์แวร์ระบบเพื่อใช้ในการจัดการระบบ หน้าที่หลักของซอฟต์แวร์ระบบประกอบด้วย
1.              ใช้ในการจัดการหน่วยรับเข้าและหน่วยส่งออก
2.              ใช้ในการจัดการหน่วยความจำ
3.              ใช้เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์

·         ระบบปฏิบัติการ
        ระบบปฏิบัติการ หรือที่เรียกย่อ ๆ ว่า โอเอส (Operating System : OS) เป็นซอฟต์แวร์ใช้ในการดูแลระบบคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการนี้ ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กันมากและเป็นที่รู้จักกันดีเช่นดอส (Disk Operating System : DOS) วินโดวส์ (Windows) โอเอสทู (OS/2) ยูนิกซ์ (UNIX)
1.      ดอส เป็นซอฟต์แวร์จัดระบบงานที่พัฒนามานานแล้ว การใช้งานจึงใช้คำสั่งเป็นตัวอักษร
         ดอสเป็นซอฟต์แวร์ที่รู้จักกันดีในหมู่ผู้ใช้ไมโครคอมพิวเตอร์
2.      วินโดวส์ เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาต่อจากดอส เพื่อเน้นการใช้งานที่ง่ายขึ้น สามารถทำงาน
         หลายงานพร้อมกันได้ โดยงานแต่ละงานจะอยู่ในกรอบช่องหน้าต่างที่แสดงผลบนจอภาพ
         การใช้งานเน้นรูปแบบกราฟิก ผู้ใช้งานสามารถใช้เมาส์เลื่อนตัวชี้ตำแหน่งเพื่อเลือกตำแหน่งที่
         ปรากฏบนจอภาพ ทำให้ใช้งานคอมพิวเตอร์ได้ง่าย วินโดวส์จึงได้รับความนิยมในปัจจุบัน
3.      โอเอสทู เป็นระบบปฏิบัติการแบบเดียวกับวินโดว์ส แต่บริษัทผู้พัฒนาคือ บริษัทไอบีเอ็ม เป็น
         ระบบปฏิบัติการที่ให้ผู้ใช้สามารถใช้ทำงานได้หลายงานพร้อมกัน และการใช้งานก็เป็นแบบ
         กราฟิกเช่นเดียวกับวินโดวส์
              4.    ยูนิกซ์ เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาตั้งแต่ครั้งที่ใช้กับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ ระบบปฎิบัติการยูนิกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่สามารถใช้งานได้หลายงานพร้อมกัน และทำงานได้หลาย ๆ งานในเวลาเดียวกัน ยูนิกซ์จึงใช้ได้กับเครื่องที่เชื่อมโยงและต่อกับเครื่องปลายทางได้หลายเครื่องพร้อมกัน
ระบบปฏิบัติการยังมีอีกมาก โดยเฉพาะระบบปฏิบัติการที่ใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์
     เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานร่วมกันเป็นระบบ เช่น ระบบปฏิบัติการเน็ตแวร์ วินโดว์สเอ็นที



Ÿ       ตัวแปลภาษา
ในการพัฒนาซอฟต์แวร์จำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาระดับสูง เพื่อแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง ภาษาระดับสูงมีหลายภาษา ภาษาระดับสูงเหล่านี้สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้เขียนโปรแกรมเขียนชุดคำสั่งได้ง่าย เข้าใจได้ ตลอดจนสามารถปรับปรุงแก้ไขซอฟต์แวร์
ในภายหลังได้  ภาษาระดับสูงที่พัฒนาขึ้นมาทุกภาษาจะต้องมีตัวแปลภาษาสำหรับแปลภาษา ภาษาระดับสูงซึ่งเป็นที่รู้จักและนิยมกันมากในปัจจุบัน เช่น ภาษาปาสคาล ภาษาเบสิก ภาษาซี และภาษาโลโก
1.      ภาษาปาสคาล เป็นภาษาสั่งงานคอมพิวเตอร์ที่มีรูปแบบเป็นโครงสร้าง เขียนสั่งงาน
         คอมพิวเตอร์เป็นกระบวนความ ผู้เขียนสามารถแบ่งแยกงานออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วมารวมกัน
         เป็นโปรแกรมขนาดใหญ่ได้
2.      ภาษาเบสิก เป็นภาษาที่มีรูปแบบคำสั่งไม่ยุ่งยาก สามารถเรียนรู้และเข้าใจได้ง่าย มีรูปแบบคำสั่ง
         พื้นฐานที่สามารถนำมาเขียนเรียงต่อกันเป็นโปรแกรมได้
3.      ภาษาซี เป็นภาษาที่เหมาะสำหรับใช้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์อื่น ๆ ภาษาซีเป็นภาษาที่มี
         โครงสร้างคล่องตัวสำหรับการเขียนโปรแกรมหรือให้คอมพิวเตอร์ติดต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ
4.   ภาษาโลโก เป็นภาษาที่เหมาะสำหรับการเรียนรู้และเข้าใจหลักการโปรแกรมภาษาโลโกได้รับการพัฒนาสำหรับเด็ก
นอกจากภาษาที่กล่าวถึงแล้ว ยังมีภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันอีกมากมายหลายภาษา เช่น ภาษาฟอร์แทรน ภาษาโคบอล ภาษาอาร์พีจี

       ซอฟท์แวร์ประยุกต์
เป็นซอฟต์แวร์สำเร็จที่มีผู้พัฒนาเพื่อใช้งานทั่วไปทำให้ทำงานได้สะดวกขึ้น หรืออาจเป็นซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะ ซึ่งผู้ใช้เป็นผู้พัฒนาขึ้นเองเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการทำงานของตน

·         ซอฟต์แวร์สำเร็จ

ในบรรดาซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่มีใช้กันทั่วไป ซอฟต์แวร์สำเร็จ (package) เป็นซอฟต์แวร์ที่มีความนิยมใช้กันสูงมาก ซอฟต์แวร์สำเร็จเป็นซอฟต์แวร์ที่บริษัทพัฒนาขึ้น แล้วนำออกมาจำหน่าย เพื่อให้ผู้ใช้งานซื้อไปใช้ได้โดยตรง ไม่ต้องเสียเวลาในการพัฒนาซอฟต์แวร์อีก ซอฟต์แวร์สำเร็จที่มีจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไป และเป็นที่นิยมของผู้ใช้มี 5 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ ซอฟต์แวร์ประมวลคำ (word processing software) ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน (spread sheet software) ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล (data base management software) ซอฟต์แวร์นำเสนอ (presentation software) และซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูล (data communication software)

ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะ

การประยุกต์ใช้งานด้วยซอฟต์แวร์สำเร็จมักจะเน้นการใช้งานทั่วไป แต่อาจจะนำมาประยุกต์โดยตรงกับงานทางธุรกิจบางอย่างไม่ได้ เช่นในกิจการธนาคาร มีการฝากถอนเงิน งานทางด้านบัญชี หรือในห้างสรรพสินค้าก็มีงานการขายสินค้า การออกใบเสร็จรับเงิน การควบคุมสินค้าคงคลัง ดังนั้นจึงต้องมีการพัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะสำหรับงานแต่ละประเภทให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้แต่ละราย
ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะมักเป็นซอฟต์แวร์ที่ผู้พัฒนาต้องเข้าไปศึกษารูปแบบการทำงานหรือความต้องการของธุรกิจนั้น ๆ แล้วจัดทำขึ้น โดยทั่วไปจะเป็นซอฟต์แวร์ที่มีหลายส่วนรวมกันเพื่อร่วมกันทำงาน ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะที่ใช้กันในทางธุรกิจ เช่น ระบบงานทางด้านบัญชี ระบบงานจัดจำหน่าย ระบบงานในโรงงานอุตสาหกรรม บริหารการเงิน และการเช่าซื้อ



ข้อมูลจาก ....  บริษัท อักษรเจริญทัศน์   (ขอขอบคุณ)
สรุปโดย  ครูจอร์จ1174

วันพุธที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

มารยาทของการใช้อินเทอร์เน็ต

บัญญัติ 10 ประการ ของการใช้อินเทอร์เน็ต
  


     มารยาทในการใช้อินเทอร์เน็ต เรียกว่าบัญญัติ 10 ประการของการใช้อินเทอร์เน็ตก็ได้
ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้าย หรือละเมิดผู้อื่น
ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น
ต้องไม่สอดแนม แก้ไข หรือเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น
ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
ต้องไม่คัดลอกโปรแกรมของผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์
ต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมที่เกิดจากการกระทำของท่าน
ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบ กติกา และมีมารยาท



วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2554

เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Online social network) คืออะไร

เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Online social network) คืออะไร



ความหมายของเครือข่ายสังคม (Socail network) มีผู้อธิบายไว้หลายท่านดังนี้



ประดนเดช นีละคุปต์ (2551) อธิบายว่า เป็นการเชื่อมโยงผู้คนเข้าด้วยกันโดยทางใดทางหนึ่ง โดยอาศัยเทคโนโลยีเว็บ อนงค์นาฎ ศรีวิหค (2551) อธิบายว่า เป็นการเชื่ยมโยงประชากรเข้าด้วยกัน
อิทธิพล ปรีติประสงค์ (2552 :http://gotoknow.org/blog/virtualcommunitymanagement/288469) กล่าวว่า
“เครือข่ายสังคมออนไลน์ เป็นปรากฎการณ์ของการเชื่อมต่อระหว่างบุคคลในโลกอินเทอร์เน็ต และ ยังหมายรวมถึง การเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายกับเครือข่ายสังคมออนไลน์ เข้าด้วยกัน ในแง่ของการให้ความหมายของคำว่า “เครือข่ายสังคมออนไลน์” นั้น คุณเก่ง หรือ กติกา สายเสนีย์ ในเว็บบล็อก http://keng.com/2008/08/09/what-is-social-networking/ ได้ให้ความหมายที่น่าสนใจว่า
Social Network คือ การที่ผู้คนสามารถทำความรู้จัก และเชื่อมโยงกันในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง หากเป็นเว็บไซต์ที่เรียกว่าเป็น เว็บ Social Network ก็คือเว็บไซต์ที่เชื่อมโยงผู้คนไว้ด้วยกันนั่นเอง ตัวอย่างของเว็บประเภทที่เป็น Social Network เช่น Digg.com ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่เรียกได้ว่าเป็น Social Bookmark ที่ได้รับความนิยมอีกแห่งหนึ่ง และเหมาะมาก ที่จะนำมาเป็นตัวอย่าง เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น โดยในเว็บไซต์ Digg นี้ ผู้คนจะช่วยกันแนะนำ url ที่น่าสนใจเข้ามาในเว็บ และผู้อ่านก็จะมาช่วยกันให้คะแนน url หรือข่าวนั้น ๆ เป็นต้น
ในแง่ของการอธิบายถึงปรากฎการณ์ของเครือข่ายสังคมออนไลน์ ยังมีการอธิบายผ่านคำว่า Social network service หรือ SNS เป็นการเน้นไปที่การสร้างชุมชนออนไลน์ซึ่งผู้คนสามารถที่จะแลกเปลี่ยน แบ่งปันตามผลประโยชน์ กิจกรรม หรือความสนใจเฉพาะเรื่อง ซึ่งอาศัยระบบพื้นฐานของเว็บไซต์ที่ทำให้มีการโต้ตอบกันระหว่างผู้คนโดยแต่ละเว็บนั้นอาจมีการให้บริการที่ต่างกัน เช่น email กระดานข่าว และในยุคหลังๆมานี้ เป็นการแบ่งปันพื้นที่ให้สมาชิกเป็นเจ้าของพื้นที่ร่วมกันและแบ่งปันข้อมูลระหว่างโดยผู้คนสามารถสร้างเว็บเพจของตนเองโดยอาศัยระบบซอฟท์แวร์ที่เจ้าของเว็บให้บริการ
ในขณะเดียวกัน Howard Rheingold ได้เขียนคำจำกัดความของคำว่า virtual Community ในหนังสือ virtual communy ว่าหมายถึง การสื่อสาร และ ระบบข้อมูล ของบรรดาเครือข่ายสังคม ซึ่งแบ่งปันในผลประโยชน์ร่วมกัน ความคิด ชิ้นงาน หรือ ผลลัพธ์บางประการที่มีการโต้ตอบกันผ่านสังคมเสมือนจริง ซึ่งไม่ถูกผูกพันโดยเวลา พรมแดน เขตแดนของหน่วยงาน และในทุกๆที่ที่บุคคลสามารถพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างกันผ่านระบบออนไลน์ (คัดลอกจาก Virtual community)
ในขณะที่ การแบ่งหมวดหมู่ของเครือข่ายสังคมออนไลน์ อิสริยะ ไพรีพ่ายฤทธิ์ ได้จำแนกหมวดหมู่ หรือ ประเภทของเครือข่ายสังคมออนไลน์ไว้ใน บทบาทของ Social Network ในอินเทอร์เน็ตยุค 2.0 โดยพิจารณาจากเป้าหมายของการเข้าเป็นสมาชิกในเครือข่ายสังคมออนไลน์ ได้เป็น ๕ กลุ่มใหญ่ๆ กล่าวคือ
(๑) Identity Network คือ การแสดงตัวตนและภาพลักษณ์ของตน เช่น http://www.hi5.com/ http://www.facebook.com/
(๒) Interested Network เป็นการรวมตัวกันโดยอาศัย“ความสนใจ” ตรงกัน เช่น Digg.com , del.icio.us
(๓) Collaboration Network เป็นกลุ่มเครือข่ายที่ร่วมกัน “ทำงาน” ยกตัวอย่างเช่น http://www.wikipedia.org/
(๔) Gaming/Virtual Reality หรือ โลกเสมือน ในบางครั้งเราเจอคำว่า second life ซึ่งเป็นลักษณะของเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่มีลักษณะเป็นการสวมบทบาทของผู้เล่นในชีวิตจริงกับตัวละครในเกม และ (๕) Professional Network ใช้งานในอาชีพ “


จัดทำโดย สุชาต จันทรวงศ์ เวลา 18:30

Google Chrome OS ระบบปฏิบัติการจากกูเกิล


เมื่อ google ลงมาลุยตลาด os เจ้าแห่ง Search Engine ลงมาทำ os เองงานนี้คงจะกวาดลูกค้าทำความกระทบแก่ฝั่งตรงข้ามไม่น้อย มีตลาดน่าสนใจอยู่หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น พีซี โทรศัพท์มือถือ iphone ipad
Google Chrome Operating System หรือ Google Chrome OS คือผลงานล่าสุดจาก Google ที่ช่วยให้ บรรดา User สาวก Google ทั้งหลาย ได้มี OS เจ๋งๆเอาไว้ใช้งานบนเครื่อง PC ซึ่ง Google Chrome OS นี้ถือเป็นภาคต่อล่าสุดของ Chrome Browser
Google Chrome OS เป็น Open Source ที่มีขนาดเบาไม่หนักและรกเครื่องเหมาะสำหรับ Notebook Spec ต่ำๆเช่นพวก Netbook ทั่วไปโดย กูเกิลคาดว่าภายในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2010 และได้ปล่อย Google Chrome OS ออกสู่ตลาดอย่างเป็นทางการ
มารู้จักกับ Google Chrome OS และแนวคิดจาก Google
Concept ของ Google Chrome OS ที่ กูเกิลได้วางไว้คือจะต้องมีความเรียบง่าย ทำงานได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย ปราศจาก Virus Computer และ Mulware ต่างๆ และที่สำคัญด้าน User Interface ของ OS ต้องคงความเป็น Google เอาไว้คือ เรียบสุดๆ ไม่มีอะไรมารกหน้าจอ
Google ตั้งเป้าเอาไว้ว่า ความสามารถของ Google Chrome OS จะทำให้ผู้ใช้งานเปิด Web ปุ๊บ ติดปั๊บ อยาก Check Mail เหรอ ง่ายมาก Click ปุ๊บ Mail มาปั๊บ หรือเวลาจะต่ออุปกรณ์อื่นๆเข้ากับ Computer ก็ไม่ต้องเสียเวลาติดตั้งหลายนาที ประเภทเสียบปุ๊บ ติดปั๊บเลย พูดง่ายๆ คือ Concept คือ อยากให้ทุกคนรู้สึกเหมือน Computer ของตัวเองทำงานได้เร็วอยู่ตลอดเวลา เร็วเหมือนตอนซื้อเครื่องไหม่ๆ ไม่ใช่แบบที่พอเราติดตั้ง Program อะไรลงไปมากเข้าๆ ก็พาลจะทำงานช้าลงๆ
Google Chrome OS ทำงานบน X36 และ ARM Chips และขณะนี้ทีมพัฒนาได้ทำการทดสอบกับ OEMS ต่างๆเพื่อให้แน่ใจว่าสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพกัย Netbook ที่จะออกมาในช่วงปี 2010 นี้ โดยใช้ระบบปฏิบัติการที่มีรากฐานจาก Linux Kernal และสามารถรองรับพวก Web-Base Application ต่างๆ
Google Chrome OS กับ Android ต่างกันอย่างไร
บางคนสับสนว่าแล้ว Google Chrome OS กับ Android ต่างกันอย่างไร ง่ายๆเลยคือ Android ถูกสร้างมาเพื่อใช้งานกับเครื่องมือที่มีเสป็คต่ำๆเช่น โทรศัพท์หรือ NetBoook ที่มี Specification ไม่สูงซึ่งต้่างกับ Google Chrome OS ที่ถูกสร้างมารองรับ Computer ตั้งแต่ netbook ไปจนถึง Desktop เพื่อให้มีการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากกว่าและรวดเร็วกว่า





เมื่อ: วันพฤหัส, มิถุนายน 23rd, 2011, หมวด คอมพิวเตอร์ ไอที
http://www.9inter.com/

Windows 8 ระบบปฏิบัติการวินโดวส์เวอร์ชันถัดไป


การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สำหรับระบบปฏบัติการจาก microsoft ล่าสุดเริ่มเผยโฉมอย่างเป็นทางการแล้วสำหรับระบบปฏิบัติการวินโดวส์เวอร์ชันถัดไป Windows 8 ซึ่งไมโครซอฟท์การันตีว่าออกแบบมาสำหรับการใช้บนคอมพิวเตอร์พีซีและแท็บเล็ตทัชสกรีนอย่างครบวงจร เติมคุณสมบัติทัชสกรีนที่มีในโอเอสสำหรับสมาร์ทโฟนอย่าง Windows Phone 7 ให้คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะแบบไร้รอยต่อ คาดว่าจะมีการเปิดเผยคุณสมบัติ Windows 8 อีกรอบช่วงเดือนกันยายนนี้
Steven Sinofsky ประธานฝ่ายธุรกิจวินโดวส์จากไมโครซอฟท์ สาธิตคุณสมบัติบางส่วนของระบบปฏิบัติการ Windows 8 ในงาน D9 ซึ่งจัดขึ้นที่แคลิฟอร์เนียเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยการันตีว่าวินโดวส์เวอร์ชันใหม่จะมีทุกความสามารถซึ่งพบในอุปกรณ์พกพายอดฮิตอย่างไอแพด
“คอมพิวเตอร์แล็บท็อป แท็บเล็ต และคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อป ล้วนสามารถรันบนระบบปฏิบัติการเดียว”
ก่อนการขึ้นเวทีเพื่อนำเสนอ Windows 8 ในงาน D9 ผู้บริหารไมโครซอฟท์ได้โชว์ภาพหน้าจอเริ่มต้น (start screen) ซึ่งมีลักษณะเป็นช่องตารางลักษณะเดียวกับ Windows Phone 7 ซึ่งไมโครซอฟท์ยืนยันว่าพัฒนาบนเป้าหมายให้ผู้ใช้รับและจำแนกข้อมูลได้รวดเร็วและง่ายดาย กว่าการใช้ไอคอนซึ่งผู้ใช้ต้องคลิกเพื่อเปิดใช้แอปพลิเคชันตามปกติ
หัวหน้าทีมพัฒนา Windows 8 ให้สัมภาษณ์ว่าไมโครซอฟท์กำลังพยายามเสนอประสบการณ์ใหม่ในการใช้งานคอมพิวเตอร์ โดยเป้าหมายพื้นฐานของการสร้าง Windows 8 คือการสร้างระบบที่สามารถทำงานได้ดีทั้งบนแท็บเล็ตที่มีขนาดหน้าจอ 7-8 นิ้วหรือคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะที่สามารถต่อเชื่อมหน้าจอมอนิเตอร์ขนาดใหญ่ได้ โดยภาพ Windows 8 ที่ถูกเปิดเผยทำให้นักวิเคราะห์มองว่าเป็นไปได้สูงที่ไมโครซอฟท์จะให้บริการร้านดาวน์โหลดแอปฯ หรือ App Store สำหรับผู้ใช้วินโดวส์ในอนาคต
จากการสาธิต Windows 8 สามารถรองรับทั้งแอปฯแบบดั้งเดิมที่รันบนระบบปฏิบัติการวินโดวส์เวอร์ชันปัจจุบันอย่าง Windows 7 และแอปฯยุคใหม่ที่มีลักษณะคล้ายกับแอปฯบนอุปกรณ์พกพา แอปฯแบบหลังจะเน้นการแสดงผลเต็มหน้าจอตามโหมดการทำงานและอุปกรณ์ต่างขนาด ซึ่งรองรับทั้งเทคโนโลยี HTML5 และจาวาสคริปต์
ก่อนหน้างาน D9 รองประธานฝ่ายพัฒนาวินโดวส์ Julie Larson-Green เคยโพสต์ข้อความบอกเล่าการเปลี่ยนแปลงใน Windows 8 ว่าเป็นการเปลี่ยนโฉมวินโดวส์ตั้งแต่ภายในถึงภายนอก โดยมั่นใจว่าระบบปฏิบัติการ Windows 8 จะเหมาะสมกับอุปกรณ์ทั้งที่มีและไม่มีคีย์บอร์ด/เมาส์ จุดนี้ Larson-Green ประกาศว่าไมโครซอฟท์จะโชว์ตัว Windows 8 อย่างละเอียด พร้อมโปรแกรม Internet Explorer 10 เว็บเบราว์เซอร์เร็วจี๋ถึงใจที่จะถูกนำมารวมไว้ใน Windows 8 ที่งานประชุมนักพัฒนาซึ่งจะจัดขึ้นที่แคลิฟอร์เนีย ช่วงวันที่ 13 กันยายนนี้
ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ของไมโครซอฟท์นั้นยังคงเป็นระบบปฏิบัติการที่ถูกใช้งานมากที่สุดในโลก มียอดจำหน่ายลิขสิทธิ์มากกว่า 400 ล้านเครื่องต่อปี อย่างไรก็ตาม วินโดวส์ถูกวิจารณ์ว่ากำลังล้าหลังคู่แข่งอย่างแอปเปิลและกูเกิลในตลาดแท็บเล็ต เพราะผลิตภัณฑ์ระบบปฏิบัติการไอโอเอสอย่าง iPad สามารถครองตำแหน่งเบอร์ 1 ในตลาดเรียบร้อย
สำหรับข่าวคราวล่าสุดของไมโครซอฟท์ คือการถูกพันธมิตรสัญชาติฟินแลนด์อย่างโนเกียปฏิเสธแข็งขันว่าไมโครซอฟท์จะไม่เข้าซื้อโนเกียอย่างที่มีข่าวลือซึ่งอ้างข้อมูลจากนักวิเคราะห์ Eldar Murtazin ที่ระบุว่าไมโครซอฟท์กำลังพิจารณาซื้อธุรกิจโทรศัพท์มือถือจากโนเกียด้วยมูลค่า 1.9 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ โดย Stephen Elop ซีอีโอโนเกียซึ่งเคยทำงานกับไมโครซอฟท์มาก่อนเป็นผู้ปฏิเสธข่าวที่เกิดขึ้น
ซีอีโอโนเกียยังคงยืนยันว่า สมาร์ทโฟนโนเกียที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows Phone 7 ของไมโครซอฟท์จะเริ่มวางตลาดได้ในช่วงไตรมาส 4 ปีนี้




ที่มา :::::  http://www.9inter.com/

แท็บเล็ต - Tablet คืออะไร

 

หลายๆคนพอพูดถึง "แท็บเล็ต - Tablet" แล้วอาจจะงงว่ามันคืออะไร ?? แต่ถ้าพูดว่า iPad, Samsung Galaxy Tab แล้วล่ะก็ต้องร้อง อ๋อ กันแน่นอนซึ่ง iPad และ Samsung Galaxy Tab นั้นจริงๆแล้วเป็นเพียงแค่ชื่อรุ่นเท่านั้น แต่แท้ที่จริงแล้วตัวเครื่องเหล่านี้จะเรียกกันว่า "แท็บเล็ต - Tablet"
 
"แท็บเล็ต - Tablet" ในความหมายแท้จริงแล้วก็คือแผ่นจารึกที่เอาไว้บันทึกข้อความต่างๆโดยการเขียน (อาจจะเป็นกระดาษ, ดิน, ขี้ผื้ง, ไม้) และมีการใช้กันมานานแล้วในอดีต แต่ในปัจจุบันมีการพัฒนาคอมพิวเตอร์ที่ใช้แนวคิดนี้ขึ้นมาแทนที่ซึ่งมีหลายบริษัทได้ให้คำนิยามที่แตกต่างกันไป หลักๆแล้วก็มี 2 ความหมายด้วยกันคือ "แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC (Tablet Personal Computer)" และ "แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet Computer" หรือเรียกสั้นๆว่า "แท็บเล็ต - Tablet"
 
 
แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC (Tablet personal computer)
"แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC (Tablet personal computer)" คือ "เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่สามารถพกพาได้และใช้หน้าจอสัมผัสในการทำงานเป็นอันดับแรก ออกแบบให้สามารถทำงานได้ด้วยตัวมันเอง" ซึ่งเป็นแนวคิดที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากหลังจากทาง Microsoft ได้ทำการเปิดตัว Microsoft Tablet PC ในปี 2001 แต่หลังจากนั้นก็เงียบหายไปและไม่เป็นที่นิยมมากนัก 
 
"แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC" ไม่เหมือนกับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะหรือ Laptops ตรงที่อาจจะไม่มีแป้นพิมพ์ในการใช้งาน แต่อาจจะใช้แป้นพิมพ์เสมือนจริงในการใช้งานแทน (มีแป้นพิมพ์ปรากฎบนหน้าจอใช้การสัมผัสในการพิมพ์) "แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC" ทุกเครื่องจะมีอุปกรณ์ไร้สายสำหรับการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตและระบบเครือข่ายภายใน
 
ภาพ HP Compaq tablet PC ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows


แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet Computer หรือ แท็บเล็ต - Tablet
"แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet Computer" หรือเรียกสั้นๆว่า "แท็บเล็ต - Tablet" คือ "เครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้ในขณะเคลื่อนที่ได้ขนาดกลางและใช้หน้าจอสัมผัสในการทำงานเป็นอันดับแรก มีคีย์บอร์ดเสมือนจริงหรือปากกาดิจิตอลในการใช้งานแทนที่แป้นพิมพ์คีย์บอร์ด และมีความหมายครอบคลุมถึงโน๊คบุ๊คแบบ convertible ที่มีหน้าจอแบบสัมผัสและมีแป้นพิมพ์คีย์บอร์ดติดมาด้วยไม่ว่าจะเป็นแบบหมุนหรือแบบสไลด์ก็ตาม"  
 
ซึ่งทางบริษัท Apple ผู้ผลิต "ไอแพด - iPad" ได้เรียกอุปกรณ์ของตัวเองว่าเป็น "แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet Computer" เครื่องแรก
 
ภาพ Apple iPad
 
 
ความแตกต่างระหว่าง "แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet computer" และ "แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC"
เริ่มแรก "แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC" จะใช้หน่วยประมวลผลกลางหรือ CPU ที่ใช้สถาปัตยกรรม x86 ของ Intel เป็นพื้นฐานและมีการปรับแต่งนำเอาระบบปฏิบัติการหรือ OS ของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือ Personal Computer - PC มาทำให้สามารถใช้การสัมผัสในการทำงานได้ ตัวอย่างเช่น Windows 7 หรือ Ubuntu Linux แทนที่จะใช้แป้นพิมพ์คีย์บอร์ดหรือเมาส์ และเนื่องจากเป็นการรวมกันระหว่างระบบปฏิบัติการ Windows และหน่วยประมวลผลกลางหรือ CPU ของ Intel ทำให้มีคนเรียกกันว่า "Wintel"
 
ต่อมาในปี 2010 ได้เกิดแท็บเล็ตที่แตกต่างจาก "แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC" ขึ้นมาโดยไม่มีการยึดติดกับ Wintel แต่ไปใช้ระบบปฏิบัติการของโทรศัพท์เคลื่อนที่แทนนั่นก็คือ "แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet Computer หรือเรียกสั้นๆว่า แท็บเล็ต - Tablet" ซึ่งจะใช้หน้าจอแบบ capacitive แทนที่ resistive ทำให้สามารถสัมผัสโดยการใช้นิ้วได้โดยตรงและสัมผัสพร้อมกันทีละหลายจุดได้หรือ multi-touch ประกอบกับการใช้หน่วยประมวลผลกลางหรือ CPU ที่ใช้สถาปัตยกรรม ARM แทนซึ่งสถาปัตยกรรม ARM นี้ทำให้แท็บเล็ตนั้นมีการใช้งานได้ยาวนานกว่าสถาปัตยกรรม x86 ของ Intel หลายๆคนคงจะรู้จักแท็บเล็ตตัวนี้กันเป็นอย่างดีนั้นก็คือ ไอแพด (iPad) นั้นเอง
 
** สรุปความหมายของแท็บเล็ตสั้นๆ ก็คือ คอมพิวเตอร์พกพาหรือคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้งานขณะเคลื่อนที่ได้ขนาดกลางที่มีหน้าจอแบบสัมผัสในการใช้งานเป็นหลัก

แต่นั่นก็เป็นมุมมองของแต่ละบริษัทและแต่ละคนว่าจะเรียกมันว่าอะไร ในอนาคตอาจจะมีการนิยามคำว่า แท็บเล็ต ใหม่ให้มันกระชับและครอบคลุมมากกว่านี้ก็ได้ครับ
 
เรียบเรียงโดย isack แหล่งข้อมูลจาก


อ่านต่อ : http://www.kruwandee.com/knowledge-id75.html#ixzz1YD3U8Duo

IPv4 และ IPv6 คืออะไร


เมื่อเราเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานอินเทอร์เน็ต คงจะเคยเห็นตัวเลขแปลกๆ เช่น 127.0.0.1 หรือ 192.168.1.1 หรือจำนวนอื่นๆ ตัวเลขเหล่านี้คืออะไรกัน
ตัวเลขเหล่านี้คือหมายเลข IP ประจำเครื่องครับ โดย IP ก็ย่อมาจากคำว่า Internet Protocol หน้าที่ของเจ้าเลขพวกนี้ก็คือ เป็นหลายเลขที่ใช้ในระบบเครือข่าย เป็นหมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา ในกรณีที่เราเชื่อมต่อกับระบบเครือข่าย ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น โทรศัพท์มือถือทุกเครื่องก็จะมีเลขหมายหรือเบอร์โทรศัพท์เพื่อบอกว่าถ้าจะติดต่อเครื่องนี้ให้โทรมาที่เบอร์นี้นะ เช่นเดียวกันครับ คอมพิวเตอร์ก็มีเลขหมายหรือพูดง่ายก็คือชื่อมันนั่นเอง เพือให้เครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ต่างๆ บนระบบเครือข่ายรู้จักกัน
จากหมายเลข IP ที่ยกตัวอย่างไปด้านบน เราเรียกว่า IPv4 ครับ โดยจะเป็นหมายเลขที่มีทั้งหมด 32 บิต (แต่ละช่วงเว้นวรรคด้วย . ) แบ่งเป็นช่วงละ 8 บิต โดยตัวเลข 8 นี้ก็จะมีค่าตั้งแต่ 0 – 255 ครับ ดังนั้น IPv4 จึงมีหมายเลขได้ตั่งแต่ 0.0.0.0 ถึง 255.255.255.255 แต่ก็ใช่ว่าทุกตัวจะใช้ได้หมดนะครับ เพราะจะมีบางหมายเลขที่ถูกเก็บไว้ใช้งานเฉพาะ
IPv4 ทั้งหมดถูกแบ่งออกเป็น Class ชนิดต่างๆ เพื่อจุดประสงค์ในการใช้งานที่ต่างกันไป ดังนี้ครับ
  1. คลาส A เริ่มตั้งแต่ 1.0.0.1 ถึง 127.255.255.254
  2. คลาส B เริ่มตั้งแต่ 128.0.0.1 ถึง 191.255.255.254
  3. คลาส C เริ่มตั้งแต่ 192.0.1.1 ถึง 223.255.254.254
  4. คลาส D เริ่มตั้งแต่ 224.0.0.0 ถึง 239.255.255.255 ใช้สำหรับงาน multicast
  5. คลาส E เริ่มตั้งแต่ 240.0.0.0 ถึง 255.255.255.254 ถูกสำรองไว้ ยังไม่มีการใช้งาน
สำหรับไอพีในช่วง 127.0.0.0 ถึง 127.255.255.255 ใช้สำหรับการทดสอบระบบ
แต่หมายเลข IP ด้านบนนี้ก็ยังถูกแบ่งออกเป็นอีก 2 ประเภทคือ IP ส่วนตัว (Private IP) และ IP สาธารณะ (Publish IP)
โดย IP ส่วนตัวมีไว้สำหรับใช้งานภายในองค์กรเท่านั้น ได้แก่
  1. ไอพีส่วนตัว คลาส A เริ่มตั้งแต่ 10.0.0.0 ถึง 10.255.255.255 สับเน็ตมาสต์ที่ใช้ได้ เริ่มตั้งแต่ 255.0.0.0 ขึ้นไป
  2. ไอพีส่วนตัว คลาส B เริ่มตั้งแต่ 172.16.0.0 ถึง 172.31.255.255 สับเน็ตมาสต์ที่ใช้ได้ เริ่มตั้งแต่ 255.240.0.0 ขึ้นไป
  3. ไอพีส่วนตัว คลาส C เริ่มตั้งแต่ 192.168.0.0 ถึง 192.168.255.255 สับเน็ตมาสต์ที่ใช้ได้ เริ่มตั้งแต่ 255.255.0.0 ขึ้นไป
ไอพีส่วนตัวข้างต้นถูกกำหนดให้ไม่สามารถนำไปใช้งานในเครือข่ายสาธารณะ (Internet)
ส่วน IP สาธารณะมีไว้สำหรับให้แต่ละองค์กร หรือแต่ละบุคคลใช้ในการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายเข้าหากัน
จากช่วงของ IPv4 ตั้งแต่ 1.1.1.1 ถึง 255.255.255.255 ถ้าคอมพิวเตอร์ 1 เครื่องใช้หนึ่งหมายเลข เช่น เครื่องผมใช้ 1.1.1.1 เครื่องที่สองใช้ 1.1.1.2 เราก็จะประมาณได้ว่าเราจะมีคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงอยู่ในระบบเครือข่ายได้ทั้งหมดประมาณ 232 เครื่องครับ ซึ่งเป็นตัวเลขที่เยอะมาก แต่ก็ยังเยอะไม่พอ เพราะว่า IPv4 ที่แจกจ่ายให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วโลกได้กำลังจะหมดลงไปแล้ว
แล้วเราจะทำอย่างไรดี ถ้าเราซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์มาแล้วไม่มี IP ให้เราใช้ล่ะ วิธีการที่นักคอมพิวเตอร์แก้ไขก็คือการกำหนดหมายเลข IP ใหม่ขึ้นมาครับ โดย IP ใหม่นี้ถูกเรียกว่า IPv6 (Internet Protocol version 6) ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลน IP โดย IPv6 นี้ใช้ระบบเลข 128 บิต ดังนั้นจึงมีจำนวน IP ได้มากสุดถึง 2128 หมายเลขครับ เยอะมากที่จะพอให้มนุษย์บนโลกนี้ใช้ได้ไปอีกนานเลยทีเดียว
ตัวอย่าง IPv6 ก็จะกำหนดในลักษณะดังนี้ครับ 2001:0db8:85a3:0000:0000:8a2e:0370:


ที่มา: On 09/07/2011, in Technology, by ณัฐพล บัวอุไร

วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

สายหัวเทียนรั่วสาเหตุของไฟไหม้รถติดแก๊ส LPG

    ...ปัญหาสำคัญปัญหาหนึ่งของรถยนต์ที่ติดตั้งแก๊ส LPG ระบบดูดคือ ปัญหา Back Fire ซึ่ง
ปัญหาดังกล่าวมาจากสาเหตุต่างๆพอสรุปได้ดังนี้
1 แก๊สบางมากเกินไป
2 หัวเทียนเสื่อมสภาพ (บอด)
3 สายไฟแรงสูงจากคอล์ยจุดระเบิดไปจานจ่าย จากจานจ่ายไปหัวเทียน(สายหัวเทียน)รั่ว
4 ไฟ 12V ที่จ่ายให้คอล์ยจุดระเบิดไม่เต็ม 12V
จากสาเหตุทั้งหมดที่กล่าวมาข้อที่ 3 มีโอกาสทำให้เกิดไฟไหม้มากที่สุด เพราะเมื่อเกิด Back Fire
แก๊ส LPG ผสมกับอากาศจะฟุ้งกระจายอยู่ในห้องเครื่องยนต์ จะมาเจอกับประกายไฟที่สปาร์คระ
หว่างสายหัวเทียนกับตัวเครื่องยนต์ก็จะให้เกิดการระบิดและลุกไหม้ขึ้นจากนั้นก็จะลุกลามขยาย
วงกว้างออกไป ซึ่งแนวทางในการแก้ไขป้องกันสามารถทำได้โดยตรวจเช็คหรือทำการเปลี่ยนสาย
หัวเทียนทุกระยะทางที่เหมาะสม ( 50,000 กม., 100,000 กม.) หรือเมื่อพบว่าสายหัวเทียนเริ่มเสื่อม
สภาพ


ที่มา http://www.gasthai.com/boardgas/question.asp?id=43802




แบคไฟร์ มันคืออะไร

แบคไฟร์ (Back Fire) เป็นอาการที่เกิดจากการสันดาปของเชื้อเพลิงภายนอกกระบอกสูบ เป็นเรื่องที่พบได้ทั้งเครื่องยนต์ที่ใช้แก๊สเป็นเชื้อเพลิง หรือแม้นกระทั่งเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันเอง ก็มีบางครั้งที่จะพบเจอะอาการนี้ อาการเบื้องต้นที่เจอะจะมีการระเบิดย้อนภายในท่อร่วมไอดี อาจทำให้ระบบควบคุมประจุไอดีชำรุดได้ จำพวกมาตรวัดอากาศ (Air Flow) หรือลิ้นปีกผีเสื้อ

การเกิดแบคไฟร์ได้นั้นมีองค์ประกอบคือ เชื้อเพลิง และอ็อกซิเจนในอากาศ การเกิดแบคไฟร์ส่วนใหญ่จะเกิดในกรณีที่ส่วนผสมบางเกินไป จะเกิดในช่วงเวลาสั้นๆและจะเผาไหม้เชื้อเพลิงที่ตกค้างอยู่ภายในท่อร่วมไอดี ส่วนผสมของเชื้อเพลิงกับอากาศที่บางเกินไปจะมีค่าอ็อกซิเจนอยู่ในส่วนผสมมาก ส่วนผสมที่บางจะสันดาปตัวเองได้ง่ายเมื่อมีอุณหภูมิถึงจุดสันดาป โดยไม่ต้องพึ่งพาเปลวไฟจากเขี้ยวหัวเทียน การเกิดแบคไฟร์นั้นอาจเกิดได้ในเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง เกิดในกรณีเดียวกันแทบทุกอย่าง แต่การฉีดเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์เบ็นซินนั้นการฉีดจะบางได้มีอยู่ไม่กี่กรณี คือ ปั๊มเชื้อเพลิงแรงดันตก หัวฉีดเชื้อเพลิงทำงานผิดปกติ หรือ มาตรวัดอากาศประมวลผลผิด (เร่งเครื่องแต่จับสัญญาณการไหลของอากาศได้ต่ำกว่าความจริง) ถ้าในกรณีเครื่องยนต์ที่ใช้คาร์บูเรเตอร์จะเกิดจากการใช้ขนาดนมหนูน้ำมันที่ไม่เหมาะสม จากอาการข้างต้น การที่เราจะเอาระบบแก๊ส ไม่ว่าจะเป็น LPG หรือ NGV มาใช้ในรถยนต์นั้นองค์ประกอบที่เหมาะสมถึงจะแก้ไขปัญหาได้ ในระบบดูด ( Mixer ) ระบบพื้นฐานคล้ายคาร์บูเรเตอร์ ปากผสมจึงเป็นจุดหลักของอาการแบคไฟร์ และ มีหม้อต้ม เป็นตัวเสริมที่บ่งบอกว่าขนาดปากผสมนั้นเหมาะสมกันหรือไม่

ทำไมเครื่องยนต์สมัยใหม่เมื่อนำไปใส่ระบบดูดที่สามารถใช้กับเครื่องยนต์ที่มีความจุเท่ากัน แต่ยังเกิดอาการแบคไฟร์อยู่ การเกิดอาการแบคไฟร์ในระบบดูดที่ใช้กับเครื่องยนต์สมัยใหม่นั้น ส่วนใหญ่มักมีปัญหาจากระบบแปรผันวาวล์ไอดี ซึ่งเมื่อระบบนี้ทำงานจะทำให้ค่าการไหลของอากาศมากขึ้นโดยเฉียบพลัน ปกติการทำงานของระบบแปรผันวาวล์ถูกออกแบบมาให้เครื่องยนต์มีอัตราเร่งที่ดี แต่การเกิดแบคไฟร์ในเครื่องยนต์ทั่วๆไปนั้นก็มีความเสี่ยงในขณะที่ส่งคันเร่งเร็วๆในกรณีเร่งแซง แต่เมื่อถูกผนวกไปกับการปรับค่าการเปิดวาวล์ที่นานขึ้นทำให้ปริมาณอากาศที่ไหลผ่านมากขึ้นตามไปด้วยโดยที่หม้อต้มไม่สามารถที่จะชดเชยได้ทันก็จะเกิดอาการแบคไฟร์ได้โดยง่าย เรียกได้ว่าถ้าระบบเครื่องยนต์ที่มีการประจุไอดีที่ซับซ้อน ระบบดูดจึงไม่ใช้ทางเลือกที่ดีนัก

แต่อย่างไรก็ตามการเกิดแบค์ไฟร์นั้นอาจมีข้อปลีกย่อยจากตัวเครื่องยนต์เองอีกส่วนนึง อาการจากสายหัวเทียนรั่ว หรือ คอย์จุดระเบิดรั่ว(ในรถที่ใช้คอย์แยก) หรือแม้นแต่กระทั่งเขี้ยวหัวเทียนที่ห่าง ก็สามารถที่จะทำให้เกิดอาการแบคไฟร์ได้

GasThai.com ขอขอบคุณบทความโดย คุณ Sor

วันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ประเภทขของระบบสารสนเทศ

   ประเภทขของระบบสารสนเทศ มี 5 ประเภท ได้แก่
                           1   ระบบการประมวลผลทางธุรกิจ
  (Transaction Processing System : TPS)
       ระบบการประมวลผล เป็นการประมวลผลแบบวันต่อวัน เช่น การรับ-จ่ายบิล ระบบควบคุมสินค้าคงคลัง ระบบการรับ-จ่าย สินค้า เป็นต้น ใช้งานในระดับผู้ปฏิบัติการ ระบบนี้ เป็นระบบสารสนเทศลำดับแรกที่ได้รับการพัฒนาให้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์
                ลักษณะเด่นของ TPS
               ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน สิ่งที่ องค์กรจะได้รับเมื่อใช้ระบบนี้ คือ  ลดจำนวนพนักงาน   องค์กรจะมีการบริการที่สะดวกรวดเร็ว    ลูกค้ามีจำนวนเพิ่มมากขึ้น
ตัวอย่าง     www.cjb.net
                  www.robinson.co.th
                               2  ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ           
(Management Information System : MIS)
                คือ ระบบที่เกี่ยวข้องกับผู้ บริหารที่ต้องการการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้ประโยชน์มากกว่าการ ช่วยงานแบบวันต่อวัน ประกอบไปด้วยโปรแกรมต่าง ที่จัดทำขึ้นเป็นพิเศษเพื่อขยายขอบเขตความสามารถของธุรกิจ
 ลักษณะเด่นของ MIS1  จะสนับสนุนการทำงานของระบบประมวลผลข้อมูลและการจัดเก็บ ข้อมูลรายวัน
2  จะช่วย ให้ผู้บริหารระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูง เรียกใช้ ข้อมูลที่เป็นโครงสร้างได้ตามเวลาที่ต้องการ
3จะมีความยืดหยุ่นและสามารถรองรับความต้องการข้อมูลที่ เปลี่ยนแปลงไปขององค์กร
4ต้องมีระบบรักษาความลับของข้อมูล และจำกัดการ ใช้งานของบุคคลเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น  
ตัวอย่าง 
           http://regist.psu.ac.th
                                       3  ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
(Decision Support System : DSS)
             คือระบบที่ทำหน้าที่จัดเตรียม สารสนเทศเพื่อช่วยในการตัดสินใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อช่วย ในการตัดสินใจที่ไม่ได้คาดไว้ล่วงหน้า เช่น การตัดสิน ใจเกี่ยวกับการรวมบริษัทและการหาบริษัทร่วม การขยายโรงงาน ผลิตภัณฑ์ใหม่
 ลักษณะเด่นของ DSS1 จะช่วย ผู้บริหารในกระบวนการการตัดสินใจ                                                                                              
2 จะถูกออกแบบมาให้สามารถเรียกใช้ทั้งข้อมูลแบบ กึ่งโครงสร้างและแบบไม่มีโครงสร้าง               
3 จะต้อง สามารถสนับสนุนผู้ตัดสินใจได้ในทุกระดับ แต่จะเน้น ที่ระดับวางแผนบริหารและวางแผนยุทธศาสตร์                       
4 มีรูปแบบการใช้งานอเนกประสงค์ มีความ สามารถในการจำลองสถานการณ์ และมีเครื่องมือในการ วิเคราะห์สำหรับช่วยเหลือผู้ทำการตัดสินใจ
ตัวอย่าง   
                  www.sahaconveyor.com
 4  ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง
(Executive Information System : EIS)
          คือ EIS ประเภท พิเศษ ที่ถูกพัฒนาสำหรับผู้บริหารระดับสูงโดยเฉพาะช่วย ให้ผู้บริหารระดับสูงที่ไม่คุ้นเคยกับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถใช้ระบบ สารสนเทศได้ง่ายขึ้น โดยใช้เมาส์เลื่อนหรือจอภาพแบบ สัมผัส เพื่อเชื่อมโยงข่าวสารระหว่างกัน ทำให้ผู้ บริหารไม่ต้องจำคำสั่ง

ลักษณะเด่นของ EIS

1ไม่จำเป็นต้องมีทักษะทางคอมพิวเตอร์สูง
2 ระบบสามารถใช้งานได้ง่าย
3 มีความยืดหยุ่นสูง จะต้องสามารถเข้ากันได้กับรูปแบบการทำงานของผู้บริหาร
4 การใช้งาน ใช้ในการตรวจสอบ ควบคุม
5 การสนับสนุนการตัดสินใจ ผู้บริหารระดับสูง ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอน
6 การสนับสนุนข้อมูล ทั้งภายในและภายนอกองค์กร
7 ผลลัพธ์ที่แสดง ตัวอักษร ตาราง ภาพและเสียง รวมทั้งระบบมัลติมีเดีย
8 การใช้งานกราฟิกสูง จะใช้รูปแบบการนำเสนอต่าง ๆ
9 ความเร็วในการตอบสนอง จะต้องตอบสนองอย่างรวดเร็ว ทันทีทันใด
ตัวอย่าง      
                   www.thaigoodview.com
 5    ระบบผู้เชี่ยวชาญ
(Artificial Intelligence/Expert System : AI/ES)
               หมายถึง ระบบที่ทำให้เครื่อง คอมพิวเตอร์กลายเป็นผู้ชำนาญการณ์ในสาขาใดสาขาหนึ่ง โดยได้รับ ความรู้จากมนุษย์ผู้เชี่ยวชาญเก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์เพื่อให้คอมพิวเตอร์ สามารถวิเคราะห์เหตุผล เพื่อตัดสินใจ ระบบคอมพิวเตอร์นี้ประกอบด้วย ฐานความรู้(Knowledge Base) และกฎข้อวินิจฉัย(Inference Rule) ซึ่งเป็นความ สามารถเฉพาะที่ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถตัดสินใจได้เอง เช่น การวินิจฉัย ความผิดพลาดของรถจักรดีเซลไฟฟ้า โดยใช้คอมพิวเตอร์
 ลักษณะเด่นของ AI/ES1 ป้องกันและรักษาความรู้ซึ่งอาจสูญหายไปขณะทำการเรียกข้อมูลหรือการยกเลิกการใช้ข้อมูล การใช้ข้อมูล ตลอดจนการสูญหาย เนื่องจากขาดการเก็บรักษาความรู้ อย่างเป็นระบบ และเป็นระเบียบ แบบแผน
2 ระบบผู้เชี่ยวชาญ Expert System จะจัดเตรียมข้อมูลให้อยู่ในลักษณะที่พร้อมสำหรับนำไปใช้งาน และมักจะถูกพัฒนาให้สามารถตอบสนอง ต่อปัญหาในทันทีที่เกิดความต้องการ
3 การออกแบบระบบผู้เชี่ยวชาญ Expert System มักจะคำนึงถึงการบันทึกความรู้ในแต่ละสาขาให้เพียงพอและเหมาะสมกับการใช้งาน ซึ่งจะทำให้ ระบบสามารถปฏิบัติงานแทนผู้เชี่ยวชาญ อย่างมีประสิทธิภาพ
4 ระบบผู้เชี่ยวชาญ Expert System จะสามารถตัดสินปัญหาอย่างแน่นอ น เนื่องจากระบบถูกพัฒนาให้สามารถปฏิบัติงานโดยปราศ จากผล กระทบ ทางร่างกายและอารมณ์ที่มีอยู่ในตัวมนุษย์เช่น ความเครียด ความเจ็บ ป่วย เป็นต้น
5 ระบบผู้เชี่ยวชาญ Expert System เป็นเครื่องมือเชิงกลยุทธ์ของธุรกิจ โดยเฉพาะองค์การสมัยใหม่ ( Modern Organization ) ที่ต้องการ สร้าง ความได้เปรียบในการแข่งขัน เช่น การวิเคราะห์และวางแผนการตลาด การลดต้นทุน การเพิ่มการผลิตภาพ เป็นต้น

องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ

องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศระบบเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นอาจกล่าวได้ว่าประกอบขึ้นจากเทคโนโลยีสองสาขาหลักคือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม สำหรับรายละเอียดพอสังเขปของแต่ละเทคโนโลยีมีดังต่อไปนี้คือ

1. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถจดจำข้อมูลต่าง ๆ และปฏิบัติตามคำสั่งที่บอก เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งให้ คอมพิวเตอร์นั้นประกอบด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ ต่อเชื่อมกันเรียกว่า ฮาร์ดแวร์ (Hardware) และอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์นี้จะต้องทำงานร่วมกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือที่เรียกกันว่า ซอฟต์แวร์ (Software) (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2546: 4) ฮาร์ดแวร์ ประกอบด้วย 5 ส่วน คือ อุปกรณ์รับข้อมูล (Input) เช่น แผงแป้นอักขระ (Keyboard), เมาส์, เครื่องตรวจกวาดภาพ (Scanner), จอภาพสัมผัส (Touch Screen), ปากกาแสง (Light Pen), เครื่องอ่านบัตรแถบแม่เหล็ก (Magnetic Strip Reader), และเครื่องอ่านรหัสแท่ง (Bar Code Reader) อุปกรณ์ส่งข้อมูล (Output) เช่น จอภาพ (Monitor), เครื่องพิมพ์ (Printer), และเทอร์มินัล หน่วยประมวลผลกลาง จะทำงานร่วมกับหน่วยความจำหลักในขณะคำนวณหรือประมวลผล โดยปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยการดึงข้อมูลและคำสั่งที่เก็บไว้ไว้ในหน่วยความจำหลักมาประมวลผลหน่วยความจำหลัก มีหน้าที่เก็บข้อมูลที่มาจากอุปกรณ์รับข้อมูลเพื่อใช้ในการคำนวณ และผลลัพธ์ของการคำนวณก่อนที่จะส่งไปยังอุปกรณ์ส่งข้อมูล รวมทั้งการเก็บคำสั่งขณะกำลังประมวลผลหน่วยความจำสำรอง ทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลและโปรแกรมขณะยังไม่ได้ใช้งาน เพื่อการใช้ในอนาคตซอฟต์แวร์ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญและจำเป็นมากในการควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือซอฟต์แวร์ระบบ มีหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในระบบคอมพิวเตอร์ และเป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์หรือฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ระบบสามารถแบ่งเป็น 3 ชนิดใหญ่ คือ
1. ซอฟต์แวร์ประยุกต์เพื่องานทั่วไป เป็นซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้งานทั่วไปไม่เจาะจงประเภทของธุรกิจ ตัวอย่าง เช่น Word Processing, Spreadsheet, Database Management เป็นต้น2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงาน เป็นซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในธุรกิจเฉพาะ ตามแต่วัตถุประสงค์ของการนำไปใช้3. ซอฟต์แวร์ประยุกต์อื่น ๆ เป็นซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้นเพื่อความบันเทิง และอื่น ๆ นอกเหนือจากซอฟต์แวร์ประยุกต์สองชนิดข้างต้น ตัวอย่าง เช่น Hypertext, Personal Information Management และซอฟต์แวร์เกมต่าง ๆ เป็นต้นแผนภาพแสดงกระบวนการจัดการระบบสารสนเทศplot.jpg

2. เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม ใช้ในการติดต่อสื่อสารรับ/ส่งข้อมูลจากที่ไกล ๆ เป็นการส่งของข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์หรือเครื่องมือที่อยู่ห่างไกลกัน ซึ่งจะช่วยให้การเผยแพร่ข้อมูลหรือสารสนเทศไปยังผู้ใช้ในแหล่งต่าง ๆ เป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง ครบถ้วน และทันการณ์ ซึ่งรูปแบบของข้อมูลที่รับ/ส่งอาจเป็นตัวเลข (Numeric Data) ตัวอักษร (Text) ภาพ (Image) และเสียง (Voice)
         
เทคโนโลยีที่ใช้ในการสื่อสารหรือเผยแพร่สารสนเทศ ได้แก่ เทคโนโลยีที่ใช้ในระบบโทรคมนาคมทั้งชนิดมีสายและไร้สาย เช่น ระบบโทรศัพท์, โมเด็ม, แฟกซ์, โทรเลข, วิทยุกระจายเสียง, วิทยุโทรทัศน์ เคเบิ้ลใยแก้วนำแสง คลื่นไมโครเวฟ และดาวเทียม เป็นต้น สำหรับกลไกหลักของการสื่อสารโทรคมนาคมมีองค์ประกอบพื้นฐาน 3 ส่วน ได้แก่ ต้นแหล่งของข้อความ (Source/Sender), สื่อกลางสำหรับการรับ/ส่งข้อความ (Medium), และส่วนรับข้อความ (Sink/Decoder) ดังแผนภาพต่อไปนี้ คือ สำหรับกลไกหลักของการสื่อสารโทรคมนาคมมีองค์ประกอบพื้นฐาน 3 ส่วน ได้แก่ ต้นแหล่งของข้อความ (Source/Sender), สื่อกลางสำหรับการรับ/ส่งข้อความ (Medium), และส่วนรับข้อความ (Sink/Decoder) ดังแผนภาพต่อไปนี้ คือ แผนภาพแสดง

plot2.jpg


กลไกหลักของการสื่อสารโทรคมนาคม


นอกจากนี้ เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถจำแนกตามลักษณะการใช้งานได้เป็น 6 รูปแบบ ดังนี้ต่อไปนี้ คือ 1. เทคโนโลยีที่ใช้ในการเก็บข้อมูล เช่น ดาวเทียมถ่ายภาพทางอากาศ, กล้องดิจิทัล, กล้องถ่ายวีดีทัศน์, เครื่องเอกซเรย์ ฯลฯ2. เทคโนโลยีที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล จะเป็นสื่อบันทึกข้อมูลต่าง ๆ เช่น เทปแม่เหล็ก, จานแม่เหล็ก, จานแสงหรือจานเลเซอร์, บัตรเอทีเอ็ม ฯลฯ3. เทคโนโลยีที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูล ได้แก่ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์4. เทคโนโลยีที่ใช้ในการแสดงผลข้อมูล เช่น เครื่องพิมพ์, จอภาพ, พลอตเตอร์ ฯลฯ5. เทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดทำสำเนาเอกสาร เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร, เครื่องถ่ายไมโครฟิล์ม6. เทคโนโลยีสำหรับถ่ายทอดหรือสื่อสารข้อมูล ได้แก่ ระบบโทรคมนาคมต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์, วิทยุกระจายเสียง, โทรเลข, เทเล็กซ์ และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งระยะใกล้และไกลลักษณะของข้อมูลหรือสารสนเทศที่ส่งผ่านระบบคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร ดังนี้ ข้อมูลหรือสารสนเทศที่ใช้กันอยู่ทั่วไปในระบบสื่อสาร เช่น ระบบโทรศัพท์ จะมีลักษณะของสัญญาณเป็นคลื่นแบบต่อเนื่องที่เราเรียกว่า "สัญญาณอนาลอก" แต่ในระบบคอมพิวเตอร์จะแตกต่างไป เพราะระบบคอมพิวเตอร์ใช้ระบบสัญญาณไฟฟ้าสูงต่ำสลับกัน เป็นสัญญาณที่ไม่ต่อเนื่อง เรียกว่า "สัญญาณดิจิตอล" ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นจะส่งผ่านสายโทรศัพท์ เมื่อเราต้องการส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังเครื่องอื่น ๆ ผ่านระบบโทรศัพท์ ก็ต้องอาศัยอุปกรณ์ช่วยแปลงสัญญาณเสมอ ซึ่งมีชื่อเรียกว่า "โมเด็ม" (Modem)

ที่มา: http://pirun.ku.ac.th/~b4904272/page%202.html